วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ (English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English) (About this sound /ɑ̃glɛ/ ) ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ]
การกระจายทางภูมิศาสตร์
สัดส่วนผู้ใช้ภาษาอังกฤษ (ข้อมูลปี 2540)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ

ฟิสิกส์

ภาพ แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อลาสก้า สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก

ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร [1] และ พลังงาน [2] [3] ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น
นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว[ต้องการอ้างอิง]
ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อยๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อย ฟิสิกส์พลาสมา สำหรับงานวิจัย ฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และ นักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรือ อธิบายการทดลองใหม่ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ๆ
ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น

การออกแบบบ้าน

“บ้าน” ควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ในการออกแบบบ้านสิ่งที่สำคัญในการนำมาพิจารณา ก็มีอยู่หลายประการ ดังนี้
  1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ การทำการบ้าน การนอน การทานอาหาร การทำครัว การสังสรรค์ หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียง และกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง
  2. แสงธรรมชาติ การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติ ช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่า แสงธรรมชาติควรจะมาจาก ส่วนบนของห้อง จะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่าง ส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง
  3. การระบายอากาศ ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องทานอาหาร ห้องพักผ่อน เป็นต้น
  4. การปรับอากาศ ห้องนอนซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอนจึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามา ส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย
  5. การป้องกันเสียง เสียงรบกวนมักจะมาจาก เสียงรบกวนจากข้างบ้าน จากถนน กิจกรรมในบ้าน เครื่องระบายความร้อน ห้องน้ำ ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงจากที่ต่างๆนี้ เช่น การใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง, การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน, การกั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ, การกั้นผนังห้อง การตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
การออกแบบบ้าน
การกำหนดพื้นที่
  • รูปแบบของบ้าน

  • การตกแต่งห้องนอน

  • ที่ตั้ง

  • การออกแบบห้องน้ำ
    ห้องน้ำ
  • การวางแผน

  • การออกแบบห้องน้ำ

  • หลักในการจัด

  • เครื่องใช้ในห้องน้ำ

  • การออกแบบห้องนอน
    ห้องนอน
  • การออกแบบห้องนอน

  • องค์ประกอบห้องนอน

  • การจัด

  • การออกแบบห้องนั่งเล่น
    ห้องรับแขก
  • การออกแบบห้องนั่งเล่น

  • การวางผังห้องนั่งเล่น

  • เครื่องเรือนในห้องรับแขก

  • การออกแบบห้องครัว
    ห้องครัว
  • การวางแปลนครัว

  • การออกแบบห้องครัว

  • การจัดวางแผนผังห้องครัว

  • เครื่องใช้ในครัว

  • การออกแบบห้องรับประทานอาหาร
    ห้องรับประทานอาหาร
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัดห้อง

  • การออกแบบห้องนอนเด็ก
    ห้องนอนเด็ก
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัด

  • การออกแบบห้องทำงาน
    ห้องทำงาน
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัด