วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ (English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English) (About this sound /ɑ̃glɛ/ ) ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ]
การกระจายทางภูมิศาสตร์
สัดส่วนผู้ใช้ภาษาอังกฤษ (ข้อมูลปี 2540)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ

ฟิสิกส์

ภาพ แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อลาสก้า สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก

ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร [1] และ พลังงาน [2] [3] ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น
นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว[ต้องการอ้างอิง]
ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อยๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อย ฟิสิกส์พลาสมา สำหรับงานวิจัย ฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และ นักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรือ อธิบายการทดลองใหม่ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ๆ
ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น

การออกแบบบ้าน

“บ้าน” ควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ในการออกแบบบ้านสิ่งที่สำคัญในการนำมาพิจารณา ก็มีอยู่หลายประการ ดังนี้
  1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ การทำการบ้าน การนอน การทานอาหาร การทำครัว การสังสรรค์ หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียง และกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง
  2. แสงธรรมชาติ การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติ ช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่า แสงธรรมชาติควรจะมาจาก ส่วนบนของห้อง จะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่าง ส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง
  3. การระบายอากาศ ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องทานอาหาร ห้องพักผ่อน เป็นต้น
  4. การปรับอากาศ ห้องนอนซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอนจึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามา ส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย
  5. การป้องกันเสียง เสียงรบกวนมักจะมาจาก เสียงรบกวนจากข้างบ้าน จากถนน กิจกรรมในบ้าน เครื่องระบายความร้อน ห้องน้ำ ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงจากที่ต่างๆนี้ เช่น การใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง, การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน, การกั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ, การกั้นผนังห้อง การตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
การออกแบบบ้าน
การกำหนดพื้นที่
  • รูปแบบของบ้าน

  • การตกแต่งห้องนอน

  • ที่ตั้ง

  • การออกแบบห้องน้ำ
    ห้องน้ำ
  • การวางแผน

  • การออกแบบห้องน้ำ

  • หลักในการจัด

  • เครื่องใช้ในห้องน้ำ

  • การออกแบบห้องนอน
    ห้องนอน
  • การออกแบบห้องนอน

  • องค์ประกอบห้องนอน

  • การจัด

  • การออกแบบห้องนั่งเล่น
    ห้องรับแขก
  • การออกแบบห้องนั่งเล่น

  • การวางผังห้องนั่งเล่น

  • เครื่องเรือนในห้องรับแขก

  • การออกแบบห้องครัว
    ห้องครัว
  • การวางแปลนครัว

  • การออกแบบห้องครัว

  • การจัดวางแผนผังห้องครัว

  • เครื่องใช้ในครัว

  • การออกแบบห้องรับประทานอาหาร
    ห้องรับประทานอาหาร
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัดห้อง

  • การออกแบบห้องนอนเด็ก
    ห้องนอนเด็ก
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัด

  • การออกแบบห้องทำงาน
    ห้องทำงาน
  • การออกแบบห้อง

  • องค์ประกอบ

  • การจัด


  • วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

    การสืบพันธุ์ของพืชดอก(ชีววิทยา)

    การสืบพันธุ์ของพืชดอก
                    ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน
    ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก
    บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น
    ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่าง
    โครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช
     การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก
                    สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะสืบพันธุ์
    ุ์เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ พืชก็เช่นเดียวกันการสืบพันธุของพืชมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
    และไม่อาศัยเพศ
            การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
    ซึ่งเกิดขึ้นในดอก ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก
      
     โครงสร้างของดอก









                    ดอกไม้ต่างๆ ถึงแม้จำทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์เหมือนกันแต่ก็มีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของพืช
    ดอกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของดอกแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีโครงสร้างหลักครบทั้ง 4 ส่วน ซึ่งได้แก่ กลีบเลี้ยง
    กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เรียกว่า ดอกสมบูรณ์
    (complete flower) แต่ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ครบ
    4 ส่วนเรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์
    (incomplete flower) และดอกที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย
    อยู่ภายในดอกเดียวกัน เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ
    (perfect flower)                ถ้ามีแต่เกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างเดียว เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower)จากโครงสร้างของดอกยังสามารถจำแนกประเภทของดอกได้อีกโดยพิจารณาจากตำแหน่งของรังไข่ เมื่อเทียบกับฐาน
    รองดอกซึ่งได้แก่ ดอกประเภทที่มีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก เช่น ดอกมะเขือ จำปี ยี่หุบ บัว บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ ส้ม
    เป็นต้น และดอกประเภทที่มีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก เช่น ดอกฟักทอง แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กล้วย พลับพลึง เป็นต้น
                    ดอกของพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนดอกบนก้านดอกไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งดอกออกเป็น 2 ประเภท คือ
    ดอกเดียว
    (solotary flower) และช่อดอก (inflorescences flower)
                    ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอก
    บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น ดอกมะเขือเปราะ จำปี บัว เป็นต้น
                    ช่อดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ ข้าว
    เป็นต้น แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลาย นักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะการจัดเรียงตัว
    และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกจำแนกช่อดอกออกเป็นแบบต่างๆ
                    ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อย
    ดอกย่อยเรียงกันอยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้น
    ช่อดอกแบบนี้ประกอบด้วยดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยู่รอบนอกของดอก และดอกวงในอยู่ตรงกลางดอก
    ดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมีย
    ส่วนดอกวงในมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอกอยู่เหนือรังไข่
    การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
                    การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ nหลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative
    nucleus)
    และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบ
    หรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออก
    ทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้
                    การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์
    เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์
    (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส
    3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์    3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์ 
    (micropyle)
    เรียกว่า แอนติแดล
    (antipodals) ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ
    (polar nuclei cell)
     ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell) และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์ (synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือ
    แกมีโทไฟต์เพศเมีย
    (female gametophyte)

    การถ่ายละอองเรณู
                    พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจำนวนที่แตกต่างกัน
    เมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย
    โดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้ำ แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย
    เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู
    (pollination)
                    พืชบางชนิดที่เป็นพืชเศรษฐกิจ หรือพืชที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร ถ้าปล่อยให้เกิดการถ่ายละอองเรณูตามธรรมชาติ ผลผลิตที่ได้จะไม่มากนัก เช่น ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลเพียงร้อยละ 3 ส่วนพันธุ์ก้านยาวติดผลร้อยละ 10 พืชบางชนิด เช่น สละ เกสรเพศผู้มีน้อยมาก จึงทำให้การถ่ายละอองเรณูเกิดได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้การถ่ายละอองเรณูได้น้อย เช่น จำนวนของแมลงที่มาผสมเกสร ระยะเวลาของการเจริญเติบโตเต็มที่ของเกสรเพศเมีย และเกสรเพศผู้ไม่พร้อมกัน ปัจจุบันมนุษย์จึงเข้าไปช่วยทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้มากขึ้น เช่น เลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสร ศึกษาการเจริญของละอองเรณู และออวุล แล้วนำความรู้มาช่วยผสมเกสร เช่น ในทุเรียนการเจริญเติบโตของอับเรณูจะเจริญเต็มที่ในเวลา 19.00 19.30 น. ชาวสวนก็จะตัดอับเรณูที่แตกเก็บไว้ และเมื่อเวลาที่เกสรเพศเมียเจริญเต็มที่ คือ ประมาณเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ก็จะนำพู่กันมาแตะละอองเรณูที่ตัดไว้วางบนยอดเกสรเพศเมีย หรือเมื่อตัดอับเรณูแล้วก็ใส่ถุงพลาสติก แล้วไปครอบที่เกสรเพศเมีย เมื่อเกสรเพศเมียเจริญเต็มที่แล้วการถ่ายละอองเรณูจะเกิดได้ดี และในผลไม้อื่น เช่น สละก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้

    การปฏิสนธิซ้อน
                    เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทาง
    รูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส
    (sperm
    nucleus)
    สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เรียกการผสม 2 ครั้ง
    ของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน
    (double fertilization)

    การเกิดผล
                    ภายหลังการปฏิสนธิ ออวุลแต่ละออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผล
    มีผลบางชนิดที่สามารถเจริญมาจากฐานรองดอก ได้แก่ ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ ฝรั่ง
                    ผลของพืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตมาจากรังไข่โดยไม่มีการปฏิสนธิ หรือมีการปฏิสนธิตามปกติ
    แต่ออวุลไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่สามารถเจริญเติบโตเป็นผลได้ เช่น กล้วยหอม องุ่นไม่มีเมล็ด
                    นักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
                    1. ผลเดี่ยว (simple fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยว หรือ ช่อดอกซึ่งแต่ละดอกมีรังไข่เพียงอันเดียว
    เช่น ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน ตะขบ เป็นต้น
                    2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกซึ่งมีหลายรังไข่อยู่แยกกันหรือติดกันก็ได้อยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
    กระดังงา สตรอเบอรี่ มณฑา เป็นต้น
                    3. ผลรวม (multiple fruit) เป็นผลเกิดจากรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกของช่อดอกหลอมรวมกัน
    เป็นผลใหญ่ เช่น ยอ ขนุน หม่อน สับปะรด เป็นต้น

    การเกิดเมล็ด
                    การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ทำให้เกิดไซโกต และเอนโดสเปิร์ม จากนั้นไซโกตก็จะแบ่งเซลล์
    ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นเอ็มบริโอต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ และอัตราการแบ่งเซลล์
    รวมทั้งขนาดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งแต่ละบริเวณของเอ็มบริโอไม่เท่ากัน

    ส่วนประกอบของเมล็ด
                    เมล็ด คือ ออวุลที่เจริญเติบโตเต็มที่ประกอบด้วยเอ็มบริโอที่อยู่ภายใน
    เปลือกหุ้มเมล็ดอาจมีเนื้อเยื่อสะสมอาหารอยู่ภายในเมล็ดด้วย
                    เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้





                    1. เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของออวุล
    ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด เช่น ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เข้าไปในเมล็ด
    ซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ นอกจากนั้นเปลือกหุ้มเมล็ดยังมีสารพวกไขเคลือบอยู่ทำให้ลดการสูญเสียน้ำได้ด้วย
                    2. เอ็มบริโอ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                                    ใบเลี้ยง (cotyledon) เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยง
    เพียง 1 ใบ ใบเลี้ยงของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มะขาม บัว เป็นต้น
                                    เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง
    ส่วนนี้จะเจริญเติบโตไปเป็นลำต้น ใบและดอกของพืช
                                    ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนเอ็มบริโอที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง
    ในระหว่างการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่หลายชนิดไฮโพคอทิลจะเจริญดึงใบเลี้ยงให้ขึ้นเหนือดิน
                                    แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโออยู่ต่อจากไฮโพคอทิลลงมา ต่อไปจะเจริญเป็นราก
                    3. เอนโดสเปิร์ม เป็นเนื้อเยื่อที่มีอาหารสะสมไว้สำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารส่วนใหญ่
    ่เป็นประเภทแป้ง โปรตีน และไขมัน เมล็ดละหุ่ง เมล็ดละมุด มีเอนโดสเปิร์มหนามาก ส่วนใบเลี้ยงมีลักษณะแบนบาง
    มี 2 ใบ สำหรับพืชพวกข้าว หญ้า จะมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว อาหารสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เมล็ดพืชบางชนิดไม่มี
    เอนโดสเปิร์มเนื่องจากสะสมอาหารไว้ที่ใบเลี้ยง

    การงอกของเมล็ด
                    เมล็ดพืชต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกัน
                    การงอกของเมล็ดถั่วเหลือง ไฮโพคอทิลจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบ
    ในพืชบางชนิด เช่น พริก  มะขาม เป็นต้น การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ ้ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป หรือใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ขนุน มะขามเทศ
    ส่วนของข้าวโพดงอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่เหนือดิน  มีแต่ส่วนของใบแท้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน

    ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
                    พืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังคงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้นในการเพาะเมล็ดจึงจำเป็น
    จะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช
                     โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่ำและมีการ
    เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเมล็ดน้อยมาก ดังนั้นเมล็ดจำเป็นต้องได้รับปัจจัยบางอย่างที่เหมาะสมจึงจะงอกได้
    ้ดังต่อไปนี้
                    น้ำหรือความชื้น เมื่อเมล็ดได้รับน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดจะอ่อนตัวลง ทำให้น้ำและออกซิเจนผ่านเข้าไป
    ในเมล็ดได้มากขึ้น เมล็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำจะเป็นตัว
    กระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ดมีการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ด
    เอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ดเ เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็นมอลโทส โปรตีเอส จะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
    ทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้ำได้ และแพร่เข้าไปในเอ็มบริโอเพื่อใช้ในการหายใจและการเจริญเติบโต
    นอกจากนี้น้ำยังเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก
                    ออกซิเจน เมล็ดขณะงอกมีอัตราการหายใจสูง ต้องการออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการสลายสารอาหาร
    เพื่อให้ได้พลังงานซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆของเซลล์ แต่มีพืชบางชนิด เช่น พืชน้ำ
    สามารถงอกได้ดีในออกซิเจนต่ำ ความชื้นสูง เพราะสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้ แต่เมล็ดหลายชนิด
    จะไม่งอกเลย ถ้าออกซิเจนไม่เพียงพอแม้ความชื้นจะสูง เช่น เมล็ดวัชพืชหลายชนิดที่ฝังอยู่ในดินลึกๆ
    เมื่อไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจะงอกได้
                    อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกแตกต่างกัน เช่น
    เมล็ดพืชเขตหนาวจะงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่และผักกาดหัว งอกได้ดีที่อุณหภูมิ
    20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางชนิดต้องการอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน หรือให้อุณหภูมิต่ำสลับกับ
    อุณหภูมิสูง การงอกจะเกิดดี เช่น บวบเหลี่ยม ถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30
    องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี
            แสง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมการงอกของเมล็ด เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้ต่อเมื่อมีแสง เช่น วัชพืชต่างๆ
    หญ้า ยาสูบ ผักกาดหอม สาบเสือ ปอต่างๆ เป็นต้น เมล็ดพืชอีกหลายชนิดไม่ต้องการแสงในขณะงอก เช่น กระเจี๊ยบ
    แตงกวา ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด เป็นต้น

    การพักตัวของเมล็ด

    พืชบางชนิด   เช่น   มะม่วง   ลำไย   ขนุน   ทุเรียน   ระกำ  ฯลฯ   เมื่อผลเหล่านี้แก่เต็มที่แล้วนำเมล็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม    ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ได้   
    แต่บางชนิด   เช่น    แตงโม    เมื่อผลแก่เต็มที่แล้วนำเมล็ดไปเพาะถึงแม้สภาพ
    แวดล้อมเหมาะสมต่อการงอก
    ต่เมล็ดก็ไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้   เรียกว่า   มีการพักตัวของเมล็ด   (   seed   dormancy  )   

    การพักตัวของเมลดมีสาเหตุหลายประการ    ได้แก่

              1 .   เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน    เข้าไปยังส่วนต่าง ๆ  ของเมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดหนา  
    หรืออาจมีสารบางชนิดหุ้มอยู่   เช่น   คิวท
    น   หรือ  ซูเบอริน    ในธรรมชาติเมล็ดพืางชนิดที่หนาและแข็ง
    จะอ่อนตัวลงโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อยอาหารของสัตว์
    ที่
    เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก   เช่น   เมล็ดโพธิ์   เมล็ดไทร 
    มล็ดตะขบ   หรืออาจแตกออกด้วยแรงขัดถู
    หรือถูกไฟเผา  เช่น    เมล็ดพืชวงศ
    ์หญ้า   วงศ์ไผ่บางชนิด   เมล็ดตะเคียน   เมล็ดสัก    

    วิธีการแก้การพักตัวของเมล็ดจากสาเหตุนี้    อาจทำได้โดยการแช่น้ำร้อน   หรือแช่ในสารละลายกรด
    ราะจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม    การใช้วิธีกลโดยการทำให้เลือกหุ้มเมล็ดแตกออกมีหลายวิธี   ช่น
    การเฉือนเปลือกแข็งบางส่วนของเมล็ดมะม่วงหรือวิธ
    ีนำไปให้ความร้อนโดยการเผา   หรือการใช้ความเย็น
    สลับกับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำระยะหนึ่งแล้วจึงนำออกมาเพาะ

             2 .  เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้แก็สออกซิเจนแพร่ผ่าน   การพักตัวแบบนี้มีน้อย      ส่วนใหญ่เป็นพื
    วงศ์หญ้าเป็นการพักตัวในระยะสั้น ๆ  เก็บไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำไปเพาะได้    วิธีการแก้การพักตัว
    อาจทำได้โดยการเพิ่มแก็สออกซิเจน   หรือใช้วิธีกลทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตก

             3 .   เอ็มบริโอของเมล็ดยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่    เมล็ดไม่สามารถจะงอกได้ต้องรอเวลาช่วงหนึ่ง
    เพื่อให้เอ็มบริโอมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี   รวมไปถึงการเจริญ
    พัฒนาของเอ็มบริโอให้แก่เต็มท
    เมล็ดจึงจะงอกได้    เช่น   เมล็ดของปาล์มน้ำมันอัฟริกา

             4 .   สารเคมีบางชนิดยับยั้งการงอกของเมล็ด  เช่น   สารที่มีลักษณะเป็นมือกหุ้มเมล็ด
    มะเขือเทศทำไห้เมล็ดไม่สามารถงอกได้    จนกว่าจ
    ถูกชะล้างไปจากเมล็ด   การแก้การพักตัวขงเมล็ด
    จล้างเมล็ดก่อนเพาะหรือการใช้สารเร่งการงอก  เช่น  จิเบอเรลลิน   (  gibberellin  )  

    นอกจากนี้เมล็ดพืชในเขตหนาวของโลก  เช่น   แอปเปิ้ล   เชอรี่    ต้องมีการปรับสภาพภายใน   โดยการผ่าน
    ฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูงจึงจะงอก  เพราะอุณหภูมิที่ต่ำนี้ทำให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก
    (  abscisic  acid  )   ที่ยบยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้   ในขณะที่จิบเบอเรลลิน  หรือไซโทไคนิน
    (
       cytokinin  )   ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึ้น

    เมล็ดบางชนิดไม่ปรากฏว่ามีระยะพักตัวเลย  บางชนิดอาจจะมีระยะพักตัวสั้นมากจนสังเกตไม่ได้
    เมล็ดของพืชเหล่านี้   สามารถงอกได้ทันทีเมื่อตกถึงดิน   บางชนิดงอกได้ทั้ง ๆ  ที่เมล็ดยังอยู่ในผลหรือ
    บนลำต้น  เช่น  เมล็ดขนุน   เมล็ดโกงกาง   เมล็ดมะละกอ   เมล็ดมะขามเทศ   เป็นต้น  


    การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ 
    การปลูกพืชจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์    ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสภาพของเมล็ดพันธุ์
       
           การเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์   อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์   การทำงานของเอนไซม์    และอัตราการหายใจที่ลดลง  ในการนำเมล็ดมาเพาะปลูก   หรือนำออกจำหน่ายจำเป็นจะต้องตรวจสอบ
    คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ว่ามีคุณภาพ  หรือเสื่อมคุณภาพ    
    การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์นั้น   มีการตรวจสอบคุณภาพต่าง ๆ หลายประการ    เช่น   ความสามารถในการงอก
    หรือความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์  การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์  ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์
    ความชื้นของเมล็ดพันธุ์    เป็นต้น    ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืชเท่านั้น 
    ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช   (  seed  vigour  )  หมายถึงลักษณะรวม ๆ  หลายประการของเมล็ดอันเป็นลักษณะเด่น
    ที่เมล็ดสามารถแสดงออกมาเมื่อนำเมล็ดนั้นไปเพาะในสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนนและไม่เหมาะสม
    เมล็ดที่มีความแข็งแรงสูงจะสามารถงอกได้ดี   ส่วนเมล็ดที่มีความแข็งแรงต่ำไม่สามารถงอกได้หรืองอกได้น้อย
    การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี   เช่น   การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์   การวัดดัชนีการงอกของเมล็ด   เป็นต้น  
    การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์   เป็นการกระทำเพื่อใช้ตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะทำนายว่าเมล็ดพันธุ์นั้น    เมื่อเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่  วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ก็คือ
    นำตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาใส่ไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิระหว่าง  40 50  องศาเซสเซียส
    ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ  100  เป็นเวลา   2
    8  วัน  แล้วนำมาเพาะหาค่าร้อยละของการงอก
    ถ้าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดเมื่อผ่านการเร่งอายุแล้วมีค่าร้อยละของการงอกสูง    แสดงว่าเมล็ดพันธุ์แหล่งนั้นแข็งแรง   

    ซึ่งจะทำนายได้ว่า  เมล็ดพันธุ์นั้นถูกเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ   และความชื้นสัมพัทธ์เป็นเวลา 
    12
    18   เดือน   เมื่อนำมาเพาะก็จะมีค่าร้อยละของการงอกสูงเช่นกัน
    การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์    อาศัยหลักการที่ว่า   เมล็ดพันธุ์ใดที่มีความแข็งแรงสูง
    ย่อมจะงอกได้เร็วกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความแข็งแรงต่ำ   วิธีการวัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่าง
    ของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกทุกวัน  นำมาคำนวณหาค่าดัชนี
    การงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกับจากแหล่งอื่น ๆ
    สูตร   ดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์  =  ผลบวกของ  จำนวนเมล็ดที่งอกในแต่ละวัน  }                                                                                                                                            จำนวนวันเมล็ดที่เพาะ
               การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์แต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแตกต่างกันไป   คือ
    วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการจำหน่ายหรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้
    เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป   ส่วนการหาค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธ์นั้นเหมาะสำหรับเกษตรกร
    ที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนำไปเพาะปลูก 
     
              เมล็ดมีความสำคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของพืช  เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์
    มีสารพันธุกรรมหรือยีนพืชชนิดนั้น ๆ  อยู่   แม้ว่าต้นพืชชนิดนั้นจะตายไป   แต่ถ้ามีการเก็บเมล็ดของ
    พืชนั้นไว้ก็ยังมียีนของพืชนั้น  ๆ    ที่พร้อมจะขยายพันธุ์ต่อไปได้             ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชเป็นอย่างมาก   สำหรับประเทศไทยสถาบัน
    วิจัยวิทยาศาสตร์   และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชแห่งชาติขึ้น  เพื่อเก็บรวบรวม
    และอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ  ทั่วประเทศไทย  เช่น  พันธุ์พืชที่หายาก  และใกล้จะสูญพันธุ์   หรือพันธุ์ที่ดี
    มีประโยชน์   เป็นต้น   เพื่อไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆในอนาคต
              ขั้นตอนการอนุรักษ์พันธุ์พืช   เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชมาบันทึกประวัติข้อมูลเมล็ดพันธุ์
    คัดขนาดเมล็ดพันธุ์   ต่อจากนั้นต้องทำความสะอาด   และทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์  ทำเมล็ดให้แห้ง
    และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ  เช่น  กระป๋อง  หรือซองอะลูมิเนียม   ขั้นสุดท้ายนำไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ
    0  ถึง  -20  องศาเซสเซียส  จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า  20   ปี

    วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

    การเขียนภาพลายไทย


     

            การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่
    ภาพ:Tha1.jpg

    สารบัญ

    ปฐมกำเนิดลายไทย

            อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
            ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
            ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน

    ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่

            1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
            2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
            3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
            4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
            การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป

     ศิลปภาพลายไทย

            ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ

    ภาพมโหรีหญิง

    ภาพ:Tha2.gif
            แสดงการเล่นดนตรีไทย มีดีด สี ตี เป่า เครื่องดีด-กระจับปี่ ,เครื่องสี-ซอสามสาย ,เครื่องตี-กรับ ฉิ่ง และโทน , เครื่องเป่า-ขลุ่ย ได้แบบอย่างมาจากถาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์

     ภาพกินรี

    ภาพ:Tha3.gif
            แสดงถึงความอ่อนหวาน ของดอกไม้ (ดอกบัว) จากอีกตัวหนึ่ง ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะ ลีลาของการนั่ง ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก และการยืนพักอิริยาบททั้งสอง ตลอดจนศิราภรณ์ และเครื่องตกแต่งร่างกาย

     ภาพกินนร

    ภาพ:Tha4.gif
            คือมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรียกว่า กินรี และกินรา ในภาพแสดงให้เห็น กินรากำลังขอความรัก หรือความเห็นใจจากกินรี ซึ่งกินรีก็ได้แต่เอียงอาย ตามวิสัยเพศหญิงอันพึงมี

     ภาพฟ้อนรำหญิงชาย

    ภาพ:Tha5.gif
            ได้แบบอย่างจากลายรดน้ำ ซึ่งเขียนเป็นฉาก อยู่ในพระที่นั่งพิมานรัตยา ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง

     ภาพจิตรกรรมฝาฝนัง

    ภาพ:Tha6.gif
            ระเบียงวัดพระแก้ว เรื่องรามเกียรติ์ แสดงให้เห็นตอน หนุมานอาสาลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฑ์ จากพระฤๅษีโคบุตร อาจารย์ทศกัณฐ์ แล้วขอให้พระฤๅษีนำเข้าเฝ้าถวายตัว อาสาทศกัณฐ์นำจับพระราม

     ขั้นตอนการฝึกเขียนลายไทย

    1 การเขียนแม่ลายกระจัง

    ภาพ:Tha7.gif
            แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานอย่างหนึ่งในการเขียนลายไทย มีรูปทรงมาจากดอกบัวและตาไม้ ตัวอย่างแม่ลายในบทเรียนนี้ เรียกว่า กระจังตาอ้อย ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต จะเห็นว่า ตามข้อของต้นอ้อยหรือปล้องไผ่ จะมีตาไม้อยู่ ซึ่งมีรูปร่างเช่นเดียวกับลายในบทเรียนนี้ ซึ่งนับได้ว่า เป็นความช่างสังเกตของช่างไทย ในการประยุกต์รูปแบบธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นลวดลายที่งดงามได้ ในบทเรียนนี้จะทำการฝึกเขียนลาย โดยมีตัวลายซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ซึ่งลายที่อยู่ภายในนั้น เรียกว่า ไส้ลาย (เส้นจะบางกว่า) การเขียนลายไทยนั้น ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และเป็นคนช่างสังเกต ถ้ามีการฝึกเขียนมากเท่าไหร่ ความชำนาญจะเพิ่มมากขึ้น หากหมั่นสังเกต ก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า รูปทรงจากการฝึกหัด มีความสมบูรณ์สวยงาม เทียบกับต้นแบบได้หรือไม่

     ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจังตาอ้อย

            1.) เริ่มด้วยการเขียน โครงรูปสามเหลี่ยม โดยมีความสูงจากฐาน
            1.5) นิ้ว กว้าง ๒ นิ้ว และลากเส้นแบ่งกึ่งกลาง ข้างละ ๑ นิ้ว
            2.) เมื่อได้รูปสามเหลี่ยมสมบูรณ์แล้ว จึงเริ่มวาด เส้นรูป แม่ลายกระจัง โดยเริ่มวาดจากยอดลาย โค้งลงมา ตามรูปทรงของลายกระจังตาอ้อย ทั้ง ๒ ด้านตามตัวอย่าง
            3.)จากนั้นจึงวาด ลายสอดไส้ ไว้ภายในตัวกระจัง การเขียนลายสอดไส้นี้ ใช้วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนเส้นรูป แต่มีขนาดเล็กกว่า เสร็จสิ้นขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจัง

     2.การบากลาย

    ภาพ:Tha8.jpg
            เมื่อคุณสามารถฝึกหัดเขียนลายกระจังตาอ้อยได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนต่อมาก็คือการบากลาย การบากลายเป็นการเน้นตัวลายไม่ให้เรียบจนเกินไป และยังเพิ่มความสวยงามของรูปทรง ให้มีลักษณะเหมือนธรรมชาติอีกด้วย การบากลายมี 2 แบบคือ แบบที่ 1. การบากลายเข้า และแบบที่ 2.การบากลายออก โดยการใช้การบากลายแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวลาย ที่จะนำไปใช้ประกอบในพื้นที่ต่างๆ

     วิธีการ บากลายเข้า

            1.) เริ่มต้นการวาด ด้วยการลากเส้นจากยอดลาย จนมาถึงกึ่งกลางของตัวลาย และทำการบากลายเข้าภายในตัวลาย พร้อมกับตวัดเส้นออก ให้เป็นเส้นโค้งพองามทั้งสองด้าน ตามตัวอย่าง
            2.) เริ่มต้นเช่นเดียวกับการบากลายเข้า แต่เมื่อลากเส้น จนถึงกึ่งกลางตัวลาย ให้ตวัดเส้นออก สังเกตดู จะมีลักษณะเป็นยอดแหลม เหมือนกลีบดอกไม้ ตามตัวอย่าง
            3.) การเขียนแม่ลายประจำยาม

     3.แม่ลายประจำยาม

    ภาพ:Tha9.gif
            แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่ง ของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของ แม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยามนี้ สามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถ เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความงาม ที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง

     วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม

            1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง
            2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก
            3.) วาดกลีบดอกทั้ง ๔ กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย (ในบทเรียนที่ 2.) โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้
            4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

     4.การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์

    ภาพ:Tha10.gif
            บทเรียนนี้จะกล่าวถึง การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ เป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึง วัฒนธรรมของชาวไทยโดยเฉพาะ คนไทยแต่โบราณ เมื่อจะถวายข้าวให้แก่พระสงฆ์ ก็จะนำข้าวนั้นวางบนพาน และโกยยอดให้แหลม ดังเช่นทุกวันนี้เราจะพบเห็นรูปทรงเหล่านี้ ได้ตามพานพุ่มต่างๆ ที่เราจะถวายหรือมอบให้ แก่บุคคลที่เราเคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะประดับด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบานไม่รู้โรยเป็นต้น แม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ก็เป็นหนึ่ง ในแม่ลายที่สำคัญ อีกแม่ลายหนึ่งของไทย เนื่องจากสามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น แม่ลายหางสิงห์โต ซึ่งรูปทรงส่วนหนึ่ง ก็มาจากแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้

     ขั้นตอนการเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์

            1.) วาดโครงรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งเป็นโครงรูปของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ กว้าง 2 นิ้ว สูง 3 นิ้ว การแบ่งรายละเอียดต่างๆ ดูได้จากภาพตัวอย่าง
            2.) เมื่อได้โครงแล้ว ก็เริ่มวาดรูปทรงหยดน้ำ ซึ่งเป็นไส้ในของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีสองชั้น โดยวาดให้ไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นอ่อนกว่า เส้นรูปหยดน้ำด้านนอก
            3.) เริ่มวาดเส้นโครงด้านนอกเบาๆ สำหรับเป็นเส้นนำ ในการเขียนกลีบลายด้านในต่อไป
            4.) ขั้นต่อไปเขียนกลีบด้านนอก ทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา โดยกลีบลาย จะเกาะกับรูปหยดน้ำ วีธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนลายกระจังตาอ้อย แต่จะเขียนเพียงครึ่งเดียว
            5.) เขียนกลีบด้านบน ให้สังเกตว่า กลีบด้านบนจะมีลักษณะ ยื่นยาวกว่า ตามรูปทรงของตัวลาย
            6.) เขียนกลีบด้านล่าง โดยกลีบล่างจะมีลักษณะ กลมป้อมกว่า
            7.) เมื่อได้กลีบครบทั้งหมดแล้ว จึงสอดไส้ลาย ทั้งหมด 4 จุด
            8.) เขียนกลีบรองดอก ที่มุมเว้าด้านล่าง ให้ยื่นเป็นคู่ ออกมาเล็กน้อยพองาม เสร็จได้รูปทรง พุ่มข้าวบิณฑ์ที่สมบูรณ์

     5.การเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)

    ภาพ:Tha11.gif
            แม่ลายกระหนก นับเป็นแม่ลายที่สำคัญที่สุด ในการเขียนลายไทย เพราะถ้าคุณไม่สามารถ ฝึกเขียนลายกระหนก จนชำนาญแล้ว ก็จะไม่สามารถเขียนลายไทย ในขั้นต่อๆ ไปได้ ในบทเรียนนี้จะเป็นการฝึก การวาดกระหนกตัวเดียว และจะให้วาดสลับทั้งด้านซ้าย และด้านขวา โดยรูปทรงของตัวกระหนกนี้ มาจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยส่วนหัวของกระหนกจะยื่น เลยจากรูปทรงสามเหลี่ยม ออกมาเล็กน้อย เพื่อให้ตัวกระหนก มีความพริ้วไหวมากขึ้น แต่ถ้าจะเขียนให้อยู่ภายใน รูปทรงสามเหลี่ยมก็ย่อมได้ แต่ตัวกระหนกที่ได้จะดูแข็งกว่า ความอ่อนช้อยจะลดลง

     ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)

            1.) เริ่มจากการวาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นก่อน ส่วนสูง3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว และที่มุมซ้ายวาด สามเหลี่ยมด้านเท่า เล็กๆ กว้างจากฐาน 2ซ.ม. สำหรับให้ตัวกระหนกเกาะ
            2.) เริ่มลากเส้นโค้ง จากฐาน (ตามภาพตัวอย่าง) พอถึงส่วนหัวกระหนก ให้วาดเส้นขด เหมือนกับก้นหอย แล้วลากเส้นต่อ จนถึงยอดลาย และตวัดลง ให้โค้งแหลม จนสุดโคนก้านตัวกระหนก ตามภาพตัวอย่าง
            3.) สำเร็จเป็นตัวกระหนก ส่วนเส้นเล็กๆ สีเทาที่อยู่ระหว่างกลาง ทั้งสองด้าน ของตัวกระหนกนั้น คุณจะวาดหรือไม่ก็ได้ ผมเพียงแต่เขียนนำไว้ให้ เพราะในบทเรียนต่อไปเส้นนำนี้ จะมีความสำคัญมาก ในการแบ่งตัวกระหนก เพื่อบากลาย หรือวาดขด สะบัดยอดลาย เป็นลายกระหนกหางไหล
            4.) เมื่อคุณสามารถวาดกระหนก ด้านขวาสำเร็จแล้ว ต่อไปคุณก็ควรหัดวาด ตัวกระหนกที่พลิกกลับด้านซ้ายด้วย เพราะในการใช้งานจริงๆ นั้น จำเป็นต้องเขียนได้ ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา วิธีการวาดก็เช่นเดียวกับ การวาดตัวกระหนกด้านขวา

     6.การสอดไส้และบากลายกระหนก

    ภาพ:Tha12.gif
            เมื่อคุณสามารถฝึกวาด กระหนกตัวเดียวแบบเปลือยๆ จากบทเรียนที่ ๕ ได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนนี้จะให้คุณ ได้สอดไส้ตัวกระหนก และบากลายในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (โดยใช้ทั้งการบากลายเข้า และบากลายออก ในกระหนกตัวเดียวกัน) และใส่กาบใบ ให้กับตัวกระหนกด้วย ลักษณะกระหนกเช่นนี้ บางคราวก็เรียกกันว่า กระหนกใบเทศ เพราะมีรูปร่างเหมือนกับใบเทศ หรือใบของต้นพุดตาน (hibiscus) ซึ่งเป็นไม้ตระกูลชบา ดอกใหญ่ มีกลีบดอกซ้อนสวยงามมาก

     ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายกระหนก

            1.) การเขียนโครงสามเหลี่ยมมุมฉาก ใช้ขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕
            2.) เริ่มจากการวาดกาบใบเสียก่อน (คือส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ในบทเรียนที่ ๕) โดยเขียนให้โคัง และตวัดยอดเหมือนกับยอดโค้งของใบไม้อ่อน และบากลายที่กึ่งกลางกาบ ดังภาพตัวอย่าง
            3.) สังเกตดูช่วงของการบากลายเข้า และออกได้จากภาพตัวอย่างนะครับ เริ่มลากเส้นจากโคน ตัวกระหนกและลากยาว จนถึงยอดลาย และตวัดกลับ แต่ระหว่างทางที่ลากเส้นนั้น จะมีการบากลายอยู่ตลอด สังเกตดูได้จากภาพตัวอย่าง
            4.) เมื่อได้ตัวกระหนกที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นต่อมาก็คือการสอดไส้ลาย ให้วาดลายสอดไส้ ทั้งตัวกระหนก และกาบใบ ลักษณะเส้นจะอ่อนเบากว่า เส้นรูปของตัวกระหนกที่เข้มกว่า
            5.) เสร็จสมบูรณ์
            6.) การวาดตัวกระหนกพลิกกลับ ด้านซ้ายมือนี้ มีวิธีการเช่นเดียวกับ การวาดด้านขวามือ

     7.การเขียนหางไหล

    ภาพ:Tha13.gif
            ลายหางไหล ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประกอบ เป็นยอดของตัวกระหนก โดยช่างไทยได้แรงบันดาลใจ มาจากหางของสัตว์จำพวกงู และเปลวเพลิง ลักษณะรูปร่างของหางไหล โคนหางจะอ้วน ส่วนปลายจะเรียวแหลม และจะสะบัดเลื้อยไปมา การฝึกเขียนหางไหลนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก โดยผู้เรียนส่วนใหญ่ จะเขียนแล้วไม่สมดุลย์กัน ทำให้หางไหลนั้น ดูแล้วสะบัดไม่เป็นธรรมชาติ วิธีแก้ไข คือต้องหัดสังเกตจากบทเรียน หรือจากธรรมชาติใกล้ตัว และทดลองฝึกเขียนให้มาก ก็จะทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

    ขั้นตอนการเขียนหางไหล

            1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖ ผิดกันแต่ ไม่ต้องวาดสามเหลี่ยมด้านเท่าเล็กๆ แต่ให้แบ่งกึ่งกลางขนาด ๑ นิ้วแทน เพื่อลากเส้นประนำ แบ่งกึ่งกลางของรูปสามเหลี่ยม
            2.)วาดเส้นโค้งจากโคนลาย เลื้อยมาเรื่อยๆ จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ ให้สังเกตการโค้งของเส้น จะไปเล็กที่สุดคือส่วนยอดลาย เหมือนหางงู
            3.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย

     8. การเขียนกระหนกเปลว

    ภาพ:Tha14.gif
            เมื่อเรานำหางไหลมาประกอบกับกระหนก เราจะเรียกกระหนกนั้นว่า "กระหนกเปลว" เนื่องจากมีรูปทรงเหมือนเปลวไฟ ที่สะบัดเลื้อย พริ้วไหวไปมา โดยรูปทรงของกระหนกเปลวนี้ มีโครงของตัวหางไหลอยู่ แต่ถ้าหากคุณวาด โดยไม่มีโครงของหางไหล กระหนกที่ได้จะแข็ง ไม่สะบัดพริ้วเท่าที่ควร ช่างไทยที่ฝีมือดี ล้วนผ่านการวาดกระหนกชนิดนี้มาอย่างหนักทั้งสิ้น หัวใจของศิลปะไทยคือ ความอดทน ช่างสังเกตและขยันหมั่นฝึกฝนนั่นเอง

     ขั้นตอนการเขียนกระหนกเปลว

            1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
            2.) วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ
            3.) วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ สะบัดเส้นให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ให้วาดเลื้อยไป เหมือนกับหางของงู และจบลงด้วยการตวัดเส้นโค้งกลับ มาที่กาบใบ
            4.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย

     9.การสอดไส้และบากลายกระหนกเปลว

    ภาพ:Tha15.gif
            เมื่อคุณสามารถฝึกวาดกระหนกเปลว จนชำนาญดีแล้ว ต่อไปคือการสอดไส้และบากลาย ให้กับตัวกระหนกเปลว ซึ่งกระหนกเปลวส่วนใหญ่ จะใช้ลายบากตัวละประมาณ ๖-๗ ตำแหน่ง (โดยสามารถเพิ่มหรือลด ตำแหน่งของรอยบากได้อีก ตามความเหมาะสม หรือตามขนาด ของตัวกระหนก) เมื่อมีการบากลายแล้ว ตัวกระหนกจะดูสวยงามมากขึ้น และเพิ่มพลังความพริ้วไหว ดุจเปลวเพลิง สมดังชื่อที่ตั้งอย่างแท้จริง

     ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายหระหนกเปลว

            1. ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
            2. วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ พร้อมกับบากลายเข้าตามรูป
            3. วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ (ถ้าคุณยังไม่ชำนาญ ควรร่างโครงของกระหนกเปลว ด้วยเส้นเบาๆ ก่อน) แล้วจึงสะบัดเส้นขึ้น และบากลายเข้าและออก ตามจังหวะของตัวลาย บากไปเรื่อยๆให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากเส้นให้เลื้อยกลับ พร้อมกับบากลายตามภาพ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ระหว่างการบากลาย ให้อยู่ในทรงของกระหนกเปลว ที่สะบัดยอดเป็นหางไหลด้วย
            4. สำเร็จเป็นรูปทรง กระหนกเปลว ที่สอดไส้และบากลาย เรียบร้อยแล้ว จึงสอดไส้ลายที่ตัวกระหนก และกาบใบ ด้วยเส้นที่อ่อนกว่าดังภาพ
            5. วาดกระหนกเปลว สอดใส้และบากลาย ที่พลิกกลับ ทางด้านซ้าย เช่นเดียวกับบทเรียนที่ผ่านมา วิธีการวาด ใช้เช่นเดียวกับการวาดด้านขวา